ความประทับใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ในการมาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ดแห่งนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตอยู่คนเดียวโดยที่ไม่มีพ่อแม่คอยดูแล การรู้จักใช้จ่ายเงินให้เพียงพอและประหยัดที่สุด การไปเรียนโดยที่ไม่มีพ่อแม่คอยรับคอยส่ง เราต้องรู้จักการพึ่งพาตนเอง ในตอนมาเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้แรกๆก็ไม่ได้มีความประทับใจอะไรเท่าไหร่ แต่เมื่อเราได้ไปเรียนทุกวัน เริ่มได้รู้จักกับเพื่อนๆมากขึ้น ก็เริ่มมีความประทับใจอะไรหลายๆอย่าง การที่มาอยู่ในที่แปลกใหม่ก็ทำให้ต้องปรับตัวอะไรหลายอย่างเพื่อให้เข้ากับสถานที่นั้นๆ แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการมาเรียนที่นี่เลย
สายพันธุ์ไก่พม่า
วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559
จุดเด่นของไก่ชนพม่าสายพันธุ์ม้าล่อ
จุดเด่นของไก่ชนพม่าสายพันธุ์ม้าล่อ
ณ.เวลา นี้นั้นไก่ชนสายพันธุ์ม้าล่อได้ถูกการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จากบรีดเดอร์ไก่ชนในเมืองไทย เพื่อต่อกรกับ ไก่ชนเชิง ไก่ชนเหล่าป่าก๋อย หรือแม้กระทั่งไก่ชนสายพันธุ์พม่าด้วยกันเอง ไก่ชนม้าล่อ ได้มีการพัฒนาให้มีจิตใ จหนักแน่นมีเบอร์แข้งที่โหด หนักหน่วง ออกอาวุธที่ไวและชัดเจนกว่าเดิม ไม่ ห่วงที่จะออกวิ่ง ออกล่อเหมือนแต่ก่อนเป็นที่ถูกใจของบรรดานักเล่น และนักเลงไก่ชนในสนาม เมื่อไก่ชนม้าล่อชิงจังหวะตีเข้าเหลี่ยมหู เหลี่ยมตา แล้วพาคู่ต่อสู้ออกวิ่งเหมือนไก่ขาเป๋
บทบาทของไก่ชนม้าล่อ
ไก่ ชนม้าล่อที่ดีนั้นต้องเป็นไก่ชนที่มีสปีดขาดี วิ่งจริง หนีไกล ที่สำคัญต้องมีพื้นฐานของความแม่น ไก่ชนม้าล่อนั้นถ้าขาดความแม่นแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้งาน เป็นได้ก็แค่ไก่นวมตัวหนึ่งเท่านั้นเอง วิ่งแล้วต้องตบ ตบแล้วมอง มองแล้ววิ่ง ไม่ให้คู่ต่อสู้ได้เข้าประชิดตัว เก็บคู่ต่อสู้ได้ให้รีบเก็บ จุดนี้แหละถือว่าเป็นหัวใจสำคัญมากเหมือนกัน คู่ต่อสู้จะตายอยู่แล้วยังจะออกวิ่งล่ออีกใช้ไม่ได้
ม้าล่อที่ดีต้องตีแผลไหน
ด้วย ลีลาของไก่ชนพันธุ์ม้าล่อที่มีชั้นเชิงที่เฉียบขาด แล้วลูกตีแบบไหนที่ตีแล้วโดนได้ใจมากกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นแผลหู , แผลตา(วงแดง) , แผลกระเดือกคอเชือด , แผลลำตัวซอกคอ ถือว่าทุกๆแผลที่กล่าวมานั้นเป็นแผลตาย แผลครูทั้งหมด ขอให้ตีจุดเดิมเข้าเป้าบ่อยๆก็ถือว่าใช้ได้
ลักษณะของไก่ชนม้าล่อที่ดีคือ
1. ไก่ชนม้าล่อต้องออกเร็ว จังหวะออกตัวต้องดี บางตัวออกตัวไม่ดีจะโดนเขาทำก่อนค่อยวิ่งได้แบบนี้ไม่ดีครับ
2. ไก่ชนม้าล่อขว้าง ต้องแม่น หนักหวังผล บางตัวเป็นไก่ชนลูกผสมไม่ค่อยขว้าง แต่ตีหนัก ๆ แบบนี้ก็ถือว่าใช้ได้ครับ คือเขาวิ่งตามมาเราดักดึงทีให้หยุดแบบนี้ถือว่าใช้ได้ครับ โดยเฉพาะพวกรอยโต ๆ
3. ไก่ชนม้าล่อต้องมีโครงสร้างที่ดี กระดูกใหญ่ครับ พวกเจ้าเนื้อจะเหนื่อยง่ายไม่เหมาะสมเป็นไก่เชิงนี้ครับ ดังนั้นเวลาเลือกไก่ชนม้าล่อต้องดูเรื่องโครงสร้างด้วย
4. ไม่โดดสังเวียน ไก่ชนม้าล่อที่ดีวิ่งไปต้องชำเลืองดูคู่ต่อสู้ไป ไม่ใช่ตั้งหน้าวิ่งอย่างเดียว ต้องเป็นไก่ชนที่คอยหาจังหวะทำตลอด
2. ไก่ชนม้าล่อขว้าง ต้องแม่น หนักหวังผล บางตัวเป็นไก่ชนลูกผสมไม่ค่อยขว้าง แต่ตีหนัก ๆ แบบนี้ก็ถือว่าใช้ได้ครับ คือเขาวิ่งตามมาเราดักดึงทีให้หยุดแบบนี้ถือว่าใช้ได้ครับ โดยเฉพาะพวกรอยโต ๆ
3. ไก่ชนม้าล่อต้องมีโครงสร้างที่ดี กระดูกใหญ่ครับ พวกเจ้าเนื้อจะเหนื่อยง่ายไม่เหมาะสมเป็นไก่เชิงนี้ครับ ดังนั้นเวลาเลือกไก่ชนม้าล่อต้องดูเรื่องโครงสร้างด้วย
4. ไม่โดดสังเวียน ไก่ชนม้าล่อที่ดีวิ่งไปต้องชำเลืองดูคู่ต่อสู้ไป ไม่ใช่ตั้งหน้าวิ่งอย่างเดียว ต้องเป็นไก่ชนที่คอยหาจังหวะทำตลอด
สาระความรู้ไก่พม่าแม่สะเรียง
สาระความรู้ไก่พม่าแม่สะเรียง
เมื่อเราพูดถึงเรื่องไก่ชนก็คิดได้เลยว่าไก่ที่เลี้ยงไว้เป็นไก่ชนก็จะมีไก่สายพันธุ์ไทยกับสายพันธุ์ไก่พม่า ซึ่งในอดีดประวัติศาสตร์ของไทยจารึกไว้ว่าไก่ที่โดงดังเป็นตำนานเล่าขานจนถึงปัจจุบันก็คือเหลืองหางขาว ไก่ของพระนเรศวรนั้นเอง แต่ปัจจุบันกับอดีดมีการเลี้ยงไก่ชนที่แตกต่างกันออกไปตามทัศนคติของผู้เลี้ยงที่จะชอบลีลาชั้นเชิงไหน มีการเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์กันมากของค่ายต่างๆๆ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักที่จะประสบความสำเร็จทุกครั้งไป ปัจจุบันไก่ที่นิยมเลี้ยงกันมากจะเป็นไก่ลูกผสมไก่ไทยกับไก่พม่าระดับสายเลือดก็แล้วแต่ค่ายที่จะมีเทคนิควิธีการเพาะ....ถ้าจะพูดถึงสายพันธุ์ไก่พม่าที่มีชื่อเสียงมานานก็คงหนีไม่พ้นไก่พม่าแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทีมีลักษณะทีโดดเด่นในเรื่องของความฉลาดด้านชั้นเชิงที่ปราดเปรียว และการแทงคู่ต่อสู้ที่ถี่และจัด โดยเฉพาะตาหรือวงแดงที่รู้ๆๆกันอยู่ของผู้เลี้ยงไก่ชน สายพันธุ์ไก่พม่าแม่สะเรียง หรือเหล่าไก่พม่าแม่สะเรียงจากประสบการของผู้เขียนที่ชื่นชอบ และสนใจการเลี้ยงไก่ชนมาตั้งแต่เด็กและเริ่มเพาะเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบันเกือบ 20 ปี พอที่จะเขียนถึงไก่พม่าแม่สะเรียงที่มีการเลี้ยงอยู่ 4 เหล่าที่นิยมเลี้ยงกันอย่างชัดเจนจนถึงปัจจุบันคือ
1. เหล่าเจ้าหงอนหมูบ หรือภาคกลางเรียกหงอนเหงือก ดังรูปภาพ
ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกใหญ่ท้ายทอย(หง่อน)กว้างกว่าเหล่าอื่น ลำต้วกว้างและลึกคล้ายไก่ไทย ก้นแหลมคล้ายปลีกล้วย
- แข้ง มีสีขาวอมเหลือง แข่งใหญ่ด้านหน้าเหลี่มหลังกลม เดือยใหญ่ ความสุงปานกลาง
- สี มีขนสีเหืองทองออกแดง หางทรงพุ่มกว้าง มีหางพัด
- เชิง ลีลาเป็นไก่เชิงคุมบนหัวโยกไปมา เชิงรับไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้ ลำหนัก สาดกระดานแรง ตีหัวสลับลำตัว อดทน และอึด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงทีหลากหลายเป็นลูกผสมพม่า แต่ยังคงลักษณะของหงอนหมูบไว้ให้เห็นชัดเจน
2. เหล่าเจ้าประดอง
ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกเล็กเรียวยาวท้ายทอย(หง่อน)แคบเหมือนเหยี่ยว หงอนชี้แหลม ลำต้วทรงกระบอกคล้ายท่อนไม้
- แข้ง มีสีดำอมเขียว แข่งกลมยาว เดือยใหญ่ปานกลาง รูปร่างสุงปราดเปรียว
- สี มีขนสีสาออกเหลือง หางทรงกระบอก
- เชิง ลีลาเป็นไก่เชิงบนหัวโยกลอดไปมา เชิงรับไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้ ลำหนักปานกลาง ตีหัว และแทงจัด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงเป็นลูกผสมพม่า แต่ยังคงลักษณะเชิงเดิม และหงอนชี้ไว้ให้เห็นชัดเจน
ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกสั้นท้ายทอย(หง่อน)กว้างสั้นกว่าเหล่าอื่น ลำต้วเล็กทรงกระบอกคล้ายท่อนไม้ ก้นแหลม
- แข้ง มีสีดำอมเขียว แข่งเล็กกลม เดือยเล็ก
- สี มีขนสาออกเขียว หางทรงกระบอกมีหางพัด หัวจุกเรียว
- เชิง ลีลาเป็นไก่ลอดไปมา เชิงเดินสาดแข่งเข้าหาคู่ต่อสู้ ลำเบา สาดแข่งถี่ ตีหัวสลับคาง และแทงจัด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงทีหลากหลายเป็นลูกผสมพม่า แต่ยังคงลักษณะเชิงเดิม และหัวจุกไว้ให้เห็นชัดเจน
4. เหล่าหม่นมันดาเลย์
ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกใหญ่ท้ายทอย(หง่อน)กว้างปานกลาง ลำต้วกว้าง และก้นแหลมคล้ายปลีกล้วย
- แข้ง มีสีขาว แข่งใหญ่กลม เดือยใหญ่ ความสุงปานกลาง
- สี มีขนสีหม่นออกขาวเหลือง หางทรงพุ่มกว้าง มีหางพัด
- เชิง ลีลาเป็นไก่เชิงโยกล่างไปมา เชิงรับไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้ ลำหนัก สาดกระดานแรง ตีหัวสลับลำตัว อดทน และอึด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงทีหลากหลายเป็นลูกผสมพม่าม้าล่อสั้น ม้าล่อยาว แต่ยังคงลักษณะของสีขนไว้ให้เห็นชัดเจน
จากทั้งหมด 4 เหล่ามีข้อดีและลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไปไก่พม่าแม่สะเรียงก็เป็นที่ยอมรับกันทุกเหล่ามีการสังซื้อและสังจองกันทั่วทุกภาคแล้วแต่ความชอบที่จะเลือกเล่นของแต่ละคน
จากที่ผู้เขียนเคยสอบถามจากผู้ติดต่อซื้อไปเล่นพบว่า ที่เขาชอบเหล่าแม่สะเรียงมีข้อดีคือ ความฉลาดไอคิวแก้เชิงได้ ตีแต่ตาหู และแทงจัดฟื้นตัวเร็วเมื่อเปรียบเทียบจากไก่พม่าทีอื่นที่เคยสังซื้อมาเล่นเหมือนกันไม่ว่าภาคเหนือด้วยกันเอง
|
วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559
ไก่พม่า
ไก่ชนพม่า
ไก่ชนพม่า
ไก่ชนพม่าเป็นคู่แข่งไก่ไทยมาตั้งแต่ค้นพบประวัติสายพันธุ์ แต่ที่โจทขานกันเห็นจะเป็นตำนานพระนเรศวร ไก่พม่าถือเป็นไม้เบื่อไม้เมาไก่ไทย ในปัจจุบันไก่พม่าแซงทางโค้งไก่ไทยด้วยความแม่น แทงแบบระเบิดเถิดเทิง ขยับเป็นแทง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แทงจัดอย่างเดียวไม่พอ ต้องถามว่าแผลไหนด้วย พม่าจึงมีช่องโหว่อยู่มากที่ไทยจะแซงกลับมาลบภาพปัจจุบันซึ่งไม่เลือกสีสรร ละทิ้งชั้นเชิง หันมาพิงเชือกเพียงอย่างเดียว
ไก่ชนพม่าเป็นคู่แข่งไก่ไทยมาตั้งแต่ค้นพบประวัติสายพันธุ์ แต่ที่โจทขานกันเห็นจะเป็นตำนานพระนเรศวร ไก่พม่าถือเป็นไม้เบื่อไม้เมาไก่ไทย ในปัจจุบันไก่พม่าแซงทางโค้งไก่ไทยด้วยความแม่น แทงแบบระเบิดเถิดเทิง ขยับเป็นแทง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แทงจัดอย่างเดียวไม่พอ ต้องถามว่าแผลไหนด้วย พม่าจึงมีช่องโหว่อยู่มากที่ไทยจะแซงกลับมาลบภาพปัจจุบันซึ่งไม่เลือกสีสรร ละทิ้งชั้นเชิง หันมาพิงเชือกเพียงอย่างเดียว
เ
ประวัติการนำเข้า "ไก่พม่าลูกนอก" แห่งแรกของจังหวัดแพร่
ประวัติการนำเข้า "ไก่พม่าลูกนอก" แห่งแรกของจังหวัดแพร่
จังหวัด แพร่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาของการนำเข้าไก่พม่าลูกนอก เมื่อย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 หรือประมาณ18ปีที่แล้ว ในจังหวัดแพร่คงจะไม่มีใครที่จะไม่รู้ “กำนันหมู” ซึ่งท่านเป็นคนรุ่นแรกๆที่ได้นำเข้าไก่ชนสายพันธุ์พม่าลูกนอกเข้ามาเล่นในจังหวัดแพร ่
“เมื่อ สมัยปี พ.ศ. 2534 ตนได้มีโอกาสไปค้าขายเสื้อ-ผ้าที่ภาคเหนือ ตรง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก่อนหน้านั้นตนต้องเลิกเลี้ยงไก่ไปพักหนึ่งเพราะต้องทำมาหากินเป็นกิจจะ ลักษณะ และจากจุดนี้นี่เองที่เป็นเรื่องราวของไก่พม่าลูกนอกได้บังเกิดขึ้นกับตน เมื่อได้รู้จักกับพ่อค้าชาวไทยใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้มอบไก่พม่าให้ ไก่พม่าตัวนี้มีสีขนออกโทนแดงนกกรด รูปร่างบอบบางตัวเล็ก (เรียกได้ว่า “ขี้เหร่”มาก) เมื่อนำเอาไก่ตัวนี้มาเลี้ยงตีที่ซุ้มของตัวเองยังหวัดแพร่ ไฟท์แรกออกชนที่สนามกีฬาชนไก่ของ “พ่อเลี้ยงเหมี่ยน” ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างสวยงามเป็นที่ฮือฮาของเซียนไก่เป็นอย่างมาก หลังจากนั้นตนก็ได้ติดต่อสั่งไก่พม่าจากชาวไทยใหญ่เป็นเวลาติดต่อกันหลาย ปี ไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ตนในสมัยนั้น ยังเป็นไก่นำเข้าชื่อไอ้เต่า ไก่ตัวนี้เป็นไก่มีไอคิวดีมากเรียกได้ว่าสอนได้เรื่องมีอยู่ว่าไอ้เต่าเป็น ไก่ที่มีล ีลาหน้าโด่ๆเก่งหน้าหงอน เวลามันถอยติดสังเวียนมันมักจะไม่ค่อยย้ายตัวมันออกชอบพิงสังเวียนปล่อยให้ คู่ต่อสู้ ตีอยู่เสมอ ตอนฝึกตนได้ใช้ไม้เรียวเฆี่ยนตีไอ้เต่าเวลามันพิงสังเวียนพอไอ้เต่ารู้สึก เจ็บมันก็จ ำว่าเวลามันพิงมันจะถูกตีหลังจากนั้นไอ้เต่าเลยไม่พิงสังเวียนอีกหลังจาก นั้นได้นำมั นเดินสายตีไปยัง จังหวัดลำปาง ในสมัยนั้นบ่อนที่ดังที่สุดคงจะไม่สนามชนไก่บ้านพระบาท จ.ลำปาง และได้ประกบตีกันที่เดิมพัน110,000บาท ชนกับไก่ลำพูนซึ่งเป็นไก่ป่าก๋อย และไอ้เต่าก็ไม่ทำให้ตนต้องผิดหวังชนะ2อันกะหน่อย
จังหวัด แพร่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาของการนำเข้าไก่พม่าลูกนอก เมื่อย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 หรือประมาณ18ปีที่แล้ว ในจังหวัดแพร่คงจะไม่มีใครที่จะไม่รู้ “กำนันหมู” ซึ่งท่านเป็นคนรุ่นแรกๆที่ได้นำเข้าไก่ชนสายพันธุ์พม่าลูกนอกเข้ามาเล่นในจังหวัดแพร ่
“เมื่อ สมัยปี พ.ศ. 2534 ตนได้มีโอกาสไปค้าขายเสื้อ-ผ้าที่ภาคเหนือ ตรง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก่อนหน้านั้นตนต้องเลิกเลี้ยงไก่ไปพักหนึ่งเพราะต้องทำมาหากินเป็นกิจจะ ลักษณะ และจากจุดนี้นี่เองที่เป็นเรื่องราวของไก่พม่าลูกนอกได้บังเกิดขึ้นกับตน เมื่อได้รู้จักกับพ่อค้าชาวไทยใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้มอบไก่พม่าให้ ไก่พม่าตัวนี้มีสีขนออกโทนแดงนกกรด รูปร่างบอบบางตัวเล็ก (เรียกได้ว่า “ขี้เหร่”มาก) เมื่อนำเอาไก่ตัวนี้มาเลี้ยงตีที่ซุ้มของตัวเองยังหวัดแพร่ ไฟท์แรกออกชนที่สนามกีฬาชนไก่ของ “พ่อเลี้ยงเหมี่ยน” ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างสวยงามเป็นที่ฮือฮาของเซียนไก่เป็นอย่างมาก หลังจากนั้นตนก็ได้ติดต่อสั่งไก่พม่าจากชาวไทยใหญ่เป็นเวลาติดต่อกันหลาย ปี ไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ตนในสมัยนั้น ยังเป็นไก่นำเข้าชื่อไอ้เต่า ไก่ตัวนี้เป็นไก่มีไอคิวดีมากเรียกได้ว่าสอนได้เรื่องมีอยู่ว่าไอ้เต่าเป็น ไก่ที่มีล ีลาหน้าโด่ๆเก่งหน้าหงอน เวลามันถอยติดสังเวียนมันมักจะไม่ค่อยย้ายตัวมันออกชอบพิงสังเวียนปล่อยให้ คู่ต่อสู้ ตีอยู่เสมอ ตอนฝึกตนได้ใช้ไม้เรียวเฆี่ยนตีไอ้เต่าเวลามันพิงสังเวียนพอไอ้เต่ารู้สึก เจ็บมันก็จ ำว่าเวลามันพิงมันจะถูกตีหลังจากนั้นไอ้เต่าเลยไม่พิงสังเวียนอีกหลังจาก นั้นได้นำมั นเดินสายตีไปยัง จังหวัดลำปาง ในสมัยนั้นบ่อนที่ดังที่สุดคงจะไม่สนามชนไก่บ้านพระบาท จ.ลำปาง และได้ประกบตีกันที่เดิมพัน110,000บาท ชนกับไก่ลำพูนซึ่งเป็นไก่ป่าก๋อย และไอ้เต่าก็ไม่ทำให้ตนต้องผิดหวังชนะ2อันกะหน่อย
การเลี้ยงไก่พม่าตอนที่2
การเลี้ยงไก่พม่า
การเลี้ยงไก่พม่า
เทคนิคการเลี้ยงไก่สายเลือดพม่านั้น เป็น ที่ยอมรับกันในทุกวันนี้ว่า ไก่ที่เลี้ยงออกชนกันตามสนามต่างๆ ทั่ว ประเทศ เป็นไก่ลูกผสมและมีสายเลือดไก่พม่าเกิน 50 %ด้วยกัน ส่วนจะมีเลือดพม่ามากแค่ไหนนั้น บ้างน้อยบ้างมากก็แล้วแต่สูตรของใครของมันว่ากันไป บางคนก็มีสายเลือดพม่าเกิน 50%ขึ้นไปซึ่งส่วนมากจะเก่ง บางคนต่ำกว่า 50 %ลงมา การเลี้ยงไก่พม่าบางตัวก็ดูไม่รู้ว่าเป็นไก่ไทยแท้หรือลูกผสมกันแน่ ไก่พม่าหรือไก่สายเลือดพม่าเดิมทีก็เล่นกันทางภาคเหนือของประเทศ ไทยซะเป็นส่วนใหญ่ เท่าที่ผมรู้เขาเลี้ยงกันไม่นาน ปล้ำ 2-3 ครั้งก็นำออกชนกันแล้ว ไม่ปล้ำมากอันเพราะจะทำให้ไก่ซ้ำ เหมือนการเลี้ยงไก่ทางภาคกลาง กว่าจะออกชนต้องปล้ำไม่น้อยกว่า 8-9 อันขึ้น การเลี้ยงไก่พม่าทางภาคเหนือเขาเลี้ยงกันไม่นานก็ออกชน กะให้แข็งในสังเวียน พอตีไปได้1-2 เที่ยว ไก่ก็เริ่มแข็งและตีราคาแพงได้ ดังนั้นการเลี้ยงไก่พม่าหนุ่มๆ จึงมีสถิติชนะหลายไฟท์ติดต่อกัน เท่า ที่สอบถามคนเลี้ยงไก่พม่าดู เขาบอกว่าถ้าเลี้ยงนานหรือปล้ำมากมันจะ กรอบ ยิ่งฟิตซ้อมหนักจะทำให้ เนื้อตัวของมันตึง ไม่ค่อยตีไก่ ซึ่งตอนแรกๆ ผมก็ไม่เชื่อ แต่จากการเลี้ยงไก่พม่ามาหลายตัว ปรากฏว่าไก่พม่า ตัวที่มีฝีตีนดีๆ พอฟิตจัดเข้ามันจะไม่ค่อยตีไก่ พอปล่อยให้เดินกรง เล่นฝุ่นเล่นดิน จับมาปล้ำใหม่ ปรากฏว่ากลับ ตีดีเหมือนเดิม ซึ่งผมได้ทดลองหลายครั้งหลายตัวก็มีผลคล้ายกัน ดังนั้นเทคนิคการเลี้ยงไก่พม่า ควรทำดังนี้
1. การออกกำลังกาย ควรให้ปฏิบัติดังนี้ - บินกล่อง - วิ่งสุ่ม - ปล่อยกรงกว้างๆ และมีคอนให้บิน แต่อย่าให้สูงมากนัก
2. การลงนวม ต้องดูนิสัยไก่ บางตัวไม่ชอบและไม่ควรลงนวมบ่อย ให้เหมาะสมควร 7-10 วันต่อครั้ง
3. การล่อ ต้องดูนิสัยไก่ หากไม่จำเป็นจริงๆ เช่นออกกำลังโดยวิธีอื่นไม่เอา จึงค่อยใช้วิธีล่อ เพราะไก่พม่า ไม่ชอบให้คู่ต่อสู้อยู่สูงกว่า
4. การลงขมิ้น หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรลง อาจจะลงครั้งแรกทั้งตัวสัก 1 ครั้ง ก็น่าจะพอ หลังจากนั้น หากยังอยากลงก็ควรทาเฉพาะใบหน้าและหน้าอกก็พอ นอกจากนี้มีข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงไก่พม่า หรือไก่ที่มีสายเลือดพม่าตั้งแต่ 50 % ขึ้นไปคือ 1. อย่าปล้ำหรือลงนวมกับคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ถ่าย เพราะหากมันถูกตีเจ็บมันจะเข็ดและพาลดีดไก่ไปเลย 2. อย่าปล้ำหรือซ้อมคู่มากเกินไป 5-6 ยก ก็น่าจะพอ โดยครั้งแรกหาคู่ต่อสู้ใหม่ๆ เหมือนกัน ผิวพรรณดีกว่า อย่าหาญตี มิฉะนั้นอาจต้องมานั่งเสียใจ 3. ไก่พม่า ถ้าหัวปีกเริ่มโรย หรือขนปีกเคลื่อนขยายหรือเริ่มถ่าย หรือขนหมดมัน ไม่ควรนำออกตี เพราะมันจะอยู่ในช่วงเริ่มหลุดถ่าย ใจน้อย และหนีง่าย
4. ไก่พม่า เวลาซ้อมหากเจอคู่ต่อสู้ตีตัว ตีเข้าหน้าอุดสามเหลี่ยมและหนอกคอ ควรรีบจับยอม มิฉะนั้นคราวต่อไปมันจะเข็ดและดีดไก่ เพราะแผลฝาก
5. การเล่นไก่พม่า ควรเล่นในช่วงที่มันกำลังสดและมีอายุชนขวบแล้วดีที่สุด เพราะจิตใจมันจะ มั่นคงกว่าตอนที่เป็นหนุ่ม 8-9 เดือน
ไก่พม่าหลักๆก็มีเท่านี้แหละครับ
การเลี้ยงไก่พม่า
เทคนิคการเลี้ยงไก่สายเลือดพม่านั้น เป็น ที่ยอมรับกันในทุกวันนี้ว่า ไก่ที่เลี้ยงออกชนกันตามสนามต่างๆ ทั่ว ประเทศ เป็นไก่ลูกผสมและมีสายเลือดไก่พม่าเกิน 50 %ด้วยกัน ส่วนจะมีเลือดพม่ามากแค่ไหนนั้น บ้างน้อยบ้างมากก็แล้วแต่สูตรของใครของมันว่ากันไป บางคนก็มีสายเลือดพม่าเกิน 50%ขึ้นไปซึ่งส่วนมากจะเก่ง บางคนต่ำกว่า 50 %ลงมา การเลี้ยงไก่พม่าบางตัวก็ดูไม่รู้ว่าเป็นไก่ไทยแท้หรือลูกผสมกันแน่ ไก่พม่าหรือไก่สายเลือดพม่าเดิมทีก็เล่นกันทางภาคเหนือของประเทศ ไทยซะเป็นส่วนใหญ่ เท่าที่ผมรู้เขาเลี้ยงกันไม่นาน ปล้ำ 2-3 ครั้งก็นำออกชนกันแล้ว ไม่ปล้ำมากอันเพราะจะทำให้ไก่ซ้ำ เหมือนการเลี้ยงไก่ทางภาคกลาง กว่าจะออกชนต้องปล้ำไม่น้อยกว่า 8-9 อันขึ้น การเลี้ยงไก่พม่าทางภาคเหนือเขาเลี้ยงกันไม่นานก็ออกชน กะให้แข็งในสังเวียน พอตีไปได้1-2 เที่ยว ไก่ก็เริ่มแข็งและตีราคาแพงได้ ดังนั้นการเลี้ยงไก่พม่าหนุ่มๆ จึงมีสถิติชนะหลายไฟท์ติดต่อกัน เท่า ที่สอบถามคนเลี้ยงไก่พม่าดู เขาบอกว่าถ้าเลี้ยงนานหรือปล้ำมากมันจะ กรอบ ยิ่งฟิตซ้อมหนักจะทำให้ เนื้อตัวของมันตึง ไม่ค่อยตีไก่ ซึ่งตอนแรกๆ ผมก็ไม่เชื่อ แต่จากการเลี้ยงไก่พม่ามาหลายตัว ปรากฏว่าไก่พม่า ตัวที่มีฝีตีนดีๆ พอฟิตจัดเข้ามันจะไม่ค่อยตีไก่ พอปล่อยให้เดินกรง เล่นฝุ่นเล่นดิน จับมาปล้ำใหม่ ปรากฏว่ากลับ ตีดีเหมือนเดิม ซึ่งผมได้ทดลองหลายครั้งหลายตัวก็มีผลคล้ายกัน ดังนั้นเทคนิคการเลี้ยงไก่พม่า ควรทำดังนี้
1. การออกกำลังกาย ควรให้ปฏิบัติดังนี้ - บินกล่อง - วิ่งสุ่ม - ปล่อยกรงกว้างๆ และมีคอนให้บิน แต่อย่าให้สูงมากนัก
2. การลงนวม ต้องดูนิสัยไก่ บางตัวไม่ชอบและไม่ควรลงนวมบ่อย ให้เหมาะสมควร 7-10 วันต่อครั้ง
3. การล่อ ต้องดูนิสัยไก่ หากไม่จำเป็นจริงๆ เช่นออกกำลังโดยวิธีอื่นไม่เอา จึงค่อยใช้วิธีล่อ เพราะไก่พม่า ไม่ชอบให้คู่ต่อสู้อยู่สูงกว่า
4. การลงขมิ้น หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรลง อาจจะลงครั้งแรกทั้งตัวสัก 1 ครั้ง ก็น่าจะพอ หลังจากนั้น หากยังอยากลงก็ควรทาเฉพาะใบหน้าและหน้าอกก็พอ นอกจากนี้มีข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงไก่พม่า หรือไก่ที่มีสายเลือดพม่าตั้งแต่ 50 % ขึ้นไปคือ 1. อย่าปล้ำหรือลงนวมกับคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ถ่าย เพราะหากมันถูกตีเจ็บมันจะเข็ดและพาลดีดไก่ไปเลย 2. อย่าปล้ำหรือซ้อมคู่มากเกินไป 5-6 ยก ก็น่าจะพอ โดยครั้งแรกหาคู่ต่อสู้ใหม่ๆ เหมือนกัน ผิวพรรณดีกว่า อย่าหาญตี มิฉะนั้นอาจต้องมานั่งเสียใจ 3. ไก่พม่า ถ้าหัวปีกเริ่มโรย หรือขนปีกเคลื่อนขยายหรือเริ่มถ่าย หรือขนหมดมัน ไม่ควรนำออกตี เพราะมันจะอยู่ในช่วงเริ่มหลุดถ่าย ใจน้อย และหนีง่าย
4. ไก่พม่า เวลาซ้อมหากเจอคู่ต่อสู้ตีตัว ตีเข้าหน้าอุดสามเหลี่ยมและหนอกคอ ควรรีบจับยอม มิฉะนั้นคราวต่อไปมันจะเข็ดและดีดไก่ เพราะแผลฝาก
5. การเล่นไก่พม่า ควรเล่นในช่วงที่มันกำลังสดและมีอายุชนขวบแล้วดีที่สุด เพราะจิตใจมันจะ มั่นคงกว่าตอนที่เป็นหนุ่ม 8-9 เดือน
ไก่พม่าหลักๆก็มีเท่านี้แหละครับ
วิธี ดูสกุลไก่พม่า
วิธี ดูสกุลไก่พม่า นี่เป็นหัวข้อที่ผู้เขียนลืมมานานว่าจะเขียนหลายครั้งแต่ก็ลืม..วันนี้เลยขอ อธิบายสั้น ๆ เพื่อมือใหม่จะได้หัดเรียนรู้ครับ เกี่ยวกับไก่พม่า
ไก่พม่าดั้งเดิมนั้น มีลักษณะที่เด่นชัดเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไก่ชนที่เหมือนไก่ทั่วไป เพราะถือเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สืบเชื้อสายมายาวนาน มีพันธุกรรมที่โดเด่นชัดเจน ดังนั้นไก่พม่าที่สกุลสูง ๆ บางท่านอาจละเลยลักษณะสำคัญไปจนทำให้การพัฒนาของเราผิดพลาดขาดทิศทาง ยิ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าไก่พม่าเลือดสูงไม่้อาจจะครองความยิ่งใหญ่ในสังเวียนได้ ในขณะที่พม่าลูกผสมสามารถยืนได้อย่างทรนง ดังนั้นพม่าที่ชนกันในปัจจุบันจึงเรียกว่าร้อยละ 90 เป็นลูกผสม
เมื่อ ลูกผสมครองเมือง..เราในฐานะคนพัฒนาคนเลี้ยงก็ต้องดูออกว่าสกุลลุนชาติของ พม่าตัวไหนเลือดเข้มตัวไหนเลือดไม่เข้ม ..เพื่อจะพิจารณาต่อยอดได้ลูก ..เพราะถ้าเชื้อพม่าน้อยไปลีลาชั้นเชิงก็แปรเปลี่ยนไปมากทีเดียว..ดังนั้น ท่านก็ต้องถามตัวเองว่าชอบแบบไหน..อะไรคือสิ่งที่เราต้องการพัฒนา
เมื่อเราได้ไก่พม่ามา 1 ตัว เราก็โปรดพิจารณาว่าไก่พม่าที่เราได้มาสกุลสูงเพียงใด โดยมีข้อพิจารณาดังนี้นะครับ
1. ดูรูปทรง ถ้ารูปทรงเป็นไก่หางหกอกตั้ง มีแนวโนมไปทางไก่พม่ามากครับ พวกนี้จะจับไม่ยาว ลักษณะลำตัวกลม ๆ หน่อยครับ (ยกเว้นการยืนของแม่สะเรียงนะครับ)
2. ดูนิสัย ถ้าเปรียวมาก ชอบนอนที่สูง แสดงว่ามีเชื้อไก่พม่าสูงครับ
3. ดูน้ำขน ถ้าน้ำขนมันวาวแสดงว่าเลือดพม่า ขนพม่าแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีขนดก และกลุ่มที่มีขนน้อยครับ แต่ที่เหมือนกันคือนำขนจะวาว
4. ดูลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกความเป็นพม่าสูงคือ เล็บดำ เดือยดำ อันนี้คือลักษณะไก่พม่าเลือดสูงโดยแท้
5. ดูใบหางจะเป็นใบหางก้านใหญ่กระดกขึ้นและโค้งลงพองาม ปลายหางไม่แหลมเล็ก ถ้าหางตรง ๆ แบบไทยเราก็สันนิษฐานก่อนว่าลูกผสม ปลายหางแหลมยิ่งลูกผสม ชัดเจน (ยกเว้นลักษณะหางของแม่สะเรียงนะครับ)
6. ดูตาและดวงตา จะสดใสลอยกลอกกลิ้ง ถ้าตาลึกไม่ใช่ไก่พม่าครับ
7. ดูสีขนตามตัว ถ้ามีสีตามตัวแทรกเป็นสีเดียวกับสีสร้อยปรากฎชัดเจนแสดงว่าเลือดพม่าสูงครับ

อันนี้คือลักษณะเบื้องต้นของการดูสกุลไก่พม่าเลือดสูง ๆ ครับ
ไก่พม่าดั้งเดิมนั้น มีลักษณะที่เด่นชัดเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไก่ชนที่เหมือนไก่ทั่วไป เพราะถือเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สืบเชื้อสายมายาวนาน มีพันธุกรรมที่โดเด่นชัดเจน ดังนั้นไก่พม่าที่สกุลสูง ๆ บางท่านอาจละเลยลักษณะสำคัญไปจนทำให้การพัฒนาของเราผิดพลาดขาดทิศทาง ยิ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าไก่พม่าเลือดสูงไม่้อาจจะครองความยิ่งใหญ่ในสังเวียนได้ ในขณะที่พม่าลูกผสมสามารถยืนได้อย่างทรนง ดังนั้นพม่าที่ชนกันในปัจจุบันจึงเรียกว่าร้อยละ 90 เป็นลูกผสม
เมื่อ ลูกผสมครองเมือง..เราในฐานะคนพัฒนาคนเลี้ยงก็ต้องดูออกว่าสกุลลุนชาติของ พม่าตัวไหนเลือดเข้มตัวไหนเลือดไม่เข้ม ..เพื่อจะพิจารณาต่อยอดได้ลูก ..เพราะถ้าเชื้อพม่าน้อยไปลีลาชั้นเชิงก็แปรเปลี่ยนไปมากทีเดียว..ดังนั้น ท่านก็ต้องถามตัวเองว่าชอบแบบไหน..อะไรคือสิ่งที่เราต้องการพัฒนา
เมื่อเราได้ไก่พม่ามา 1 ตัว เราก็โปรดพิจารณาว่าไก่พม่าที่เราได้มาสกุลสูงเพียงใด โดยมีข้อพิจารณาดังนี้นะครับ
1. ดูรูปทรง ถ้ารูปทรงเป็นไก่หางหกอกตั้ง มีแนวโนมไปทางไก่พม่ามากครับ พวกนี้จะจับไม่ยาว ลักษณะลำตัวกลม ๆ หน่อยครับ (ยกเว้นการยืนของแม่สะเรียงนะครับ)
2. ดูนิสัย ถ้าเปรียวมาก ชอบนอนที่สูง แสดงว่ามีเชื้อไก่พม่าสูงครับ
3. ดูน้ำขน ถ้าน้ำขนมันวาวแสดงว่าเลือดพม่า ขนพม่าแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีขนดก และกลุ่มที่มีขนน้อยครับ แต่ที่เหมือนกันคือนำขนจะวาว
4. ดูลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกความเป็นพม่าสูงคือ เล็บดำ เดือยดำ อันนี้คือลักษณะไก่พม่าเลือดสูงโดยแท้
5. ดูใบหางจะเป็นใบหางก้านใหญ่กระดกขึ้นและโค้งลงพองาม ปลายหางไม่แหลมเล็ก ถ้าหางตรง ๆ แบบไทยเราก็สันนิษฐานก่อนว่าลูกผสม ปลายหางแหลมยิ่งลูกผสม ชัดเจน (ยกเว้นลักษณะหางของแม่สะเรียงนะครับ)
6. ดูตาและดวงตา จะสดใสลอยกลอกกลิ้ง ถ้าตาลึกไม่ใช่ไก่พม่าครับ
7. ดูสีขนตามตัว ถ้ามีสีตามตัวแทรกเป็นสีเดียวกับสีสร้อยปรากฎชัดเจนแสดงว่าเลือดพม่าสูงครับ
อันนี้คือลักษณะเบื้องต้นของการดูสกุลไก่พม่าเลือดสูง ๆ ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)